วัดธรรมาราม เป็นวัดที่อยู่นอกเหนือโปรแกรมและความคาดหมายใดๆ แค่สอดส่ายสายตามองหาวัดไหนก็ได้ที่น่าเอาของเล็กๆ น้อยๆ ไปถวาย อยากได้วัดแบบที่ไม่เยอะ ไม่อลัง ไม่ต้องขลัง แต่ต้องใจ
ในเส้นทางเดียวกันนั้น มีวัดให้เลือกหลากหลาย แต่อะไรบางอย่างดลใจให้แวะที่วัดธรรมารามแห่งนี้ ที่กลายมาเป็นไฮไลท์ของ iTrip เลยก็ว่าได้
ไฮไลท์ เพราะ
ไม่ได้เตรียมใจไว้ว่าจะผ่านมาพบ
วัดเก่าที่ทั้งสวย สะอาด และสงบ เข้าไปแล้วรู้สึกอบอุ่น เย็นใจ
ได้มีโอกาสพบปะและสนทนากับหลวงพ่อเจ้าอาวาสโดยมิได้นัดหมาย
ได้เรียนรู้ว่าวัดอันเงียบสงบแห่งนี้ มีประวัติความเป็นมาที่ไม่ธรรมดา
ด้วยว่า เป็นวัดป่า คู่เมืองอยุธยา มาแต่ครั้งนั้น
มีความสำคัญระดับส่งพระสงฆ์ไทย ไปเผยแพร่พุทธศาสนาถึงศรีลังกา จนทำให้แผ่นดินลังกา กลับมามีรุ่งเรืองทางพุทธศาสนาอีกครั้ง
พระองค์นั้น คือ เจ้าอาวาส ชื่อ พระอุบาลี ที่ทุกวันนี้ ชาวศรีลังกายังให้ความเคารพ และรำลึกนึกถึง
มีพิพิธภัณฑ์ที่บอกเล่าเกร็ดประวัติของวัด และภาพจิตกรรมฝาผนังครั้งกรุงเก่า น่าไปดู
จากการสนทนากับหลวงพ่อ ได้ความมาว่า
สมัยอยุธยาแต่ก่อนนั้น มีวัดป่า หรือเรียกว่า "อรัญวาสี" ที่สำคัญๆ อยู่สองแห่ง คือวัดป่าที่อยู่ในเมือง และ วัดป่าที่อยู่นอกเมือง
วัดป่าในเมืองในครั้งนั้น คือวัดใหญ่ชัยมงคล ส่วนวัดป่าที่อยู่นอกเมือง ก็คือวัดธรรมาราม แห่งนี้นี่เอง
เราไม่ได้แวะไปชมวัดใหญ่ชัยมงคลในครั้งนี้ แต่การมาที่วัดธรรมาราม เป็นอะไรที่่เกินความคาดหมาย ทันทีที่เราเข้าไปในเขตวัด สัมผัสได้ถึงความสงบ ร่มเย็น แบบที่วัดป่าควรจะเป็น ความอยากรู้อยากเห็นพาเราก้าวขึ้นศาลาการเปรียญ ซึ่งสะอาดสะอ้านเป็นอย่างยิ่ง
หลวงพ่อ ซึงรู้ต่อมาว่า เป็นเจ้าอาวาส วัดแห่งนี้ ได้สละเวลาสนทนาและบอกเล่าเรื่องราวให้เราฟังจึงได้รู้ว่า วัดแห่งนี้ มีประวัติไม่ธรรมดาเลย
สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เป็นสมัยที่พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมากในแผ่นดินอยุธยา แต่เวลาเดียวกันนี้เมืองศรีลังกา ซึ่งรากเหง้าของพุทธศาสนาได้ถูกทำลายลงจนไม่เหลือพระภิกษุที่จะทำการอุปัชฌาย์ให้กับผู้ใด พระเจ้าแผ่นดินสมัยนั้นจึงได้ส่งสาส์นมายังพระเจ้าอยู่หัวพระบรมโกศขอความช่วยเหลือให้ส่งพระสงฆ์ไทย ไปเป็นพระอุปัชฌาย์และเผยแพร่ให้พุทธศาสนากลับมารุ่งเรืองในแผ่นดินลังกาอีกครั้ง
พระอุบาลี มหาเถระ เจ้าอาวาสวันธรรมาราม เป็นพระผู้มากความรู้ความสามารถจึงถูกส่งให้เป็นหัวหน้านำคณะสงฆ์ทั้งหมด 18 รูปเดินทางโดยเรือไปเมืองลังกา แม้ว่าการเดินทางจะมีอุปสรรคมากมาย เพราะต้องฝ่าคลื่นลมพายุ แต่ในที่สุด ท่านก็เดินทางไปถึงและทำการอุปัชฌาย์ และเผยแพร่พุทธศาสนาที่นั่น จนพุทธศาสนาลังกาวงศ์กลับมาเข้มแข็งได้อีกครั้ง
แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า ต่อมา ท่านเกิดอาพาธและละสังขารอยู่ที่นั่นโดยไม่ได้มีโอกาสกลับมาที่อยุธยาอีกเลย
ในเส้นทางเดียวกันนั้น มีวัดให้เลือกหลากหลาย แต่อะไรบางอย่างดลใจให้แวะที่วัดธรรมารามแห่งนี้ ที่กลายมาเป็นไฮไลท์ของ iTrip เลยก็ว่าได้
ไฮไลท์ เพราะ
ไม่ได้เตรียมใจไว้ว่าจะผ่านมาพบ
วัดเก่าที่ทั้งสวย สะอาด และสงบ เข้าไปแล้วรู้สึกอบอุ่น เย็นใจ
ได้มีโอกาสพบปะและสนทนากับหลวงพ่อเจ้าอาวาสโดยมิได้นัดหมาย
ได้เรียนรู้ว่าวัดอันเงียบสงบแห่งนี้ มีประวัติความเป็นมาที่ไม่ธรรมดา
ด้วยว่า เป็นวัดป่า คู่เมืองอยุธยา มาแต่ครั้งนั้น
มีความสำคัญระดับส่งพระสงฆ์ไทย ไปเผยแพร่พุทธศาสนาถึงศรีลังกา จนทำให้แผ่นดินลังกา กลับมามีรุ่งเรืองทางพุทธศาสนาอีกครั้ง
พระองค์นั้น คือ เจ้าอาวาส ชื่อ พระอุบาลี ที่ทุกวันนี้ ชาวศรีลังกายังให้ความเคารพ และรำลึกนึกถึง
มีพิพิธภัณฑ์ที่บอกเล่าเกร็ดประวัติของวัด และภาพจิตกรรมฝาผนังครั้งกรุงเก่า น่าไปดู
จากการสนทนากับหลวงพ่อ ได้ความมาว่า
สมัยอยุธยาแต่ก่อนนั้น มีวัดป่า หรือเรียกว่า "อรัญวาสี" ที่สำคัญๆ อยู่สองแห่ง คือวัดป่าที่อยู่ในเมือง และ วัดป่าที่อยู่นอกเมือง
วัดป่าในเมืองในครั้งนั้น คือวัดใหญ่ชัยมงคล ส่วนวัดป่าที่อยู่นอกเมือง ก็คือวัดธรรมาราม แห่งนี้นี่เอง
เราไม่ได้แวะไปชมวัดใหญ่ชัยมงคลในครั้งนี้ แต่การมาที่วัดธรรมาราม เป็นอะไรที่่เกินความคาดหมาย ทันทีที่เราเข้าไปในเขตวัด สัมผัสได้ถึงความสงบ ร่มเย็น แบบที่วัดป่าควรจะเป็น ความอยากรู้อยากเห็นพาเราก้าวขึ้นศาลาการเปรียญ ซึ่งสะอาดสะอ้านเป็นอย่างยิ่ง
หลวงพ่อ ซึงรู้ต่อมาว่า เป็นเจ้าอาวาส วัดแห่งนี้ ได้สละเวลาสนทนาและบอกเล่าเรื่องราวให้เราฟังจึงได้รู้ว่า วัดแห่งนี้ มีประวัติไม่ธรรมดาเลย
สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เป็นสมัยที่พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมากในแผ่นดินอยุธยา แต่เวลาเดียวกันนี้เมืองศรีลังกา ซึ่งรากเหง้าของพุทธศาสนาได้ถูกทำลายลงจนไม่เหลือพระภิกษุที่จะทำการอุปัชฌาย์ให้กับผู้ใด พระเจ้าแผ่นดินสมัยนั้นจึงได้ส่งสาส์นมายังพระเจ้าอยู่หัวพระบรมโกศขอความช่วยเหลือให้ส่งพระสงฆ์ไทย ไปเป็นพระอุปัชฌาย์และเผยแพร่ให้พุทธศาสนากลับมารุ่งเรืองในแผ่นดินลังกาอีกครั้ง
พระอุบาลี มหาเถระ เจ้าอาวาสวันธรรมาราม เป็นพระผู้มากความรู้ความสามารถจึงถูกส่งให้เป็นหัวหน้านำคณะสงฆ์ทั้งหมด 18 รูปเดินทางโดยเรือไปเมืองลังกา แม้ว่าการเดินทางจะมีอุปสรรคมากมาย เพราะต้องฝ่าคลื่นลมพายุ แต่ในที่สุด ท่านก็เดินทางไปถึงและทำการอุปัชฌาย์ และเผยแพร่พุทธศาสนาที่นั่น จนพุทธศาสนาลังกาวงศ์กลับมาเข้มแข็งได้อีกครั้ง
แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า ต่อมา ท่านเกิดอาพาธและละสังขารอยู่ที่นั่นโดยไม่ได้มีโอกาสกลับมาที่อยุธยาอีกเลย
เพื่อเป็นการระลึกถึงท่าน ปัจจุบัน ทางวัดจึงได้จัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ขึ้นมา เสียดายว่าเวลาที่เราไปนั้นค่อนข้างจะเกือบเย็น จึงไม่ได้แวะเข้าไปชม
แต่ก็หวังว่าจะมีโอกาสแวะไปชมได้อีกสักครั้ง
สวัสดี
อยุธยาไม่รู้จบ..เที่ยวย้อนภพได้ทุกที่..แม้เพลานี้บุพเพฯจะจางหาย ตอน#วัดธรรมาราม
Reviewed by Sassy Ja
on
2:25 AM
Rating: