Sport Tourism หรือการท่องเที่ยวเชิงกีฬา เป็นการท่องเที่ยวรูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจ เนื่องจากสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวจำนวนมากและช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการท่องเที่ยว เพราะจากการสำรวจพบว่ากลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงกีฬามักใช้จ่ายสูงกว่านักท่องเที่ยวกลุ่มอื่นๆ ถึง 3-4 เท่า ขณะเดียวกันยังใช้เป็นโอกาสประชาสัมพันธ์สถานที่จัดการแข่งขันให้ยกระดับเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ ได้ด้วย
ล่าสุดบริษัทวิจัยการตลาด Technavio คาดว่าการท่องเที่ยวเชิงกีฬาจะมีมูลค่า 5.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2564 หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 32% ต่อปี (CAGR) ในช่วงปี 2559-2564
การท่องเที่ยวเชิงกีฬา แบ่งเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้
- การท่องเที่ยวเพื่อร่วมลงเล่นกีฬา เป็นการท่องเที่ยวรูปแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จากเดิมที่การเดินทางเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันกีฬากระจุกตัวอยู่เฉพาะในกลุ่มนักกีฬามืออาชีพของกีฬาบางประเภท อาทิ กอล์ฟ รถแข่ง เรือใบ เทนนิส และฟุตบอล แต่ในระยะหลังเมื่อความนิยมออกกำลังกายมีมากขึ้นเพื่อดูแลสุขภาพตนเอง อีกทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในหลายประเทศนิยมจัดอีเวนต์ที่ผนวกกิจกรรมกีฬาเข้ากับการท่องเที่ยวและเปิดโอกาสให้ทั้งนักกีฬามืออาชีพและนักกีฬามือสมัครเล่นจำนวนมากสามารถเข้าร่วมได้ ที่เห็นได้ชัดคือการวิ่งมาราธอนหรือปั่นจักรยาน ซึ่งอีเวนต์รูปแบบดังกล่าวทั้งที่เป็นงานใหญ่และงานเล็กจะมีจัดขึ้นตลอดทั้งปี และมีหลายอีเวนต์ที่ประสบความสำเร็จมากจนสถานที่ไม่สามารถรองรับผู้สนใจได้ทั้งหมด อาทิ งานโตเกียวมาราธอน 2018 ซึ่งใช้เส้นทางวิ่งผ่านสถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังของเมืองโตเกียว ที่ต้องมีการจับฉลากเพื่อเลือกผู้เข้าร่วมงานได้จริงราว 3 หมื่นคนจากผู้สนใจลงชื่อเข้าร่วมสมัครถึงกว่า 3 แสนคน สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวเพื่อร่วมลงเล่นกีฬามีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก
ประเทศไทยมีการจัดการแข่งขันที่ได้รับความสนใจทั้งจากชาวไทยและชาวต่างชาติหลายรายการ อาทิ เชียงใหม่มาราธอนซึ่งมีผู้เข้าร่วมกว่า 11,000 คน โดยมีนักกีฬาต่างชาติเข้าร่วมการแข่งขันจาก 53 ประเทศ และกรุงเทพมาราธอนซึ่งมีผู้เข้าร่วมแข่งขันกว่า 37,000 คน โดยมีนักกีฬาต่างชาติเข้าร่วมการแข่งขันประมาณ 3,000 คน จาก 60 ประเทศ ซึ่งมีส่วนช่วยโปรโมตเมืองที่ใช้เป็นสถานที่จัดการแข่งขันให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นด้วย
- การท่องเที่ยวเพื่อร่วมชมการแข่งขันกีฬา เป็นการท่องเที่ยวที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเข้าร่วมเชียร์นักกีฬาหรือชมการแข่งขันกีฬาในสถานที่ต่างๆ ที่จัดการแข่งขันขึ้นทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ อาทิ โอลิมปิกฤดูร้อน โอลิมปิกฤดูหนาว การแข่งขันรถยนต์ Formula One Grand Prix และฟุตบอลโลก ทั้งนี้ นอกจากการแข่งขันกีฬาซึ่งเป็นที่นิยมในปัจจุบัน เช่น บาสเกตบอล ฟุตบอลและเทนนิส ที่มีผู้เข้าร่วมชมเป็นประจำอยู่แล้ว ล่าสุดยังมีกีฬาใหม่ๆ ที่สามารถดึงดูดผู้เข้าร่วมชมกีฬาได้จำนวนมาก คือ การแข่งขันผ่านเกมคอมพิวเตอร์ หรือ E-Sports (Electronics Sports) โดยพบว่าจำนวนผู้ชมการแข่งขัน E-Sports ในสนาม Madison Square Garden (สนามกีฬาอเนกประสงค์ในสหรัฐฯ) มีจำนวนมากกว่าผู้เข้าชมการแข่งขันบาสเกตบอล NBA ซึ่งเป็นกีฬายอดนิยมของชาว
อเมริกันเลยทีเดียว ทั้งนี้ บริษัทวิจัยตลาดชื่อดังอย่าง PwC คาดว่าในช่วง 3-5 ปีข้างหน้า E-Sports จะเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมสูงสุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากกีฬาฟุตบอล ซึ่งกระแสดังกล่าวคาดว่าจะกระตุ้นให้จำนวนนักท่องเที่ยวเพื่อชมการแข่งขันกีฬาโดยรวมของโลกเพิ่มขึ้นสำหรับประเทศไทย จังหวัดบุรีรัมย์ถือเป็นต้นแบบของการพัฒนาเมืองท่องเที่ยวเชิงกีฬาที่สามารถดึงดูดผู้ชมทั้งชาวไทย
และชาวต่างชาติ เนื่องจากเป็นสถานที่จัดการแข่งขันทั้งการแข่งขันรถยนต์และรถจักรยานยนต์ระดับนานาชาติ และการแข่งขันฟุตบอลโดยล่าสุดประเทศไทยได้รับการรับรองจากดอร์นาร์ สปอร์ต เจ้าของลิขสิทธิ์การแข่งขันมอเตอร์ไซค์รายใหญ่ที่สุดของโลกให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน MotoGP โดยการแข่งขันครั้งแรกในไทยจะจัดขึ้นในช่วงวันที่ 5-7 ตุลาคม 2561 ณ สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนลเซอร์กิต จังหวัดบุรีรัมย์ โดยคาดว่าเฉพาะจากงาน MotoGP นี้จะทำให้มีนักท่องเที่ยวเข้าประเทศไทยเพิ่มขึ้นถึง 2 แสนคน
- การท่องเที่ยวในสถานที่ที่เป็นต้นกำเนิดของกีฬาหรือการเข้าค่ายฝึกกีฬากับนักกีฬาที่มีชื่อเสียง อาทิ กีฬามวยไทยที่มีชื่อเสียงระดับโลกและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในแต่ละท้องถิ่นอย่างมวยไชยา มวยโคราช ล้วนมีส่วนช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวที่สนใจเดินทางมาเข้าคอร์สฝึกมวยไทยกับค่ายมวยที่มีชื่อเสียง ทั้งนี้ การฝึกมวยไทยจะต้องใช้เวลาเรียนรู้และฝึกฝนสักระยะหนึ่งจึงจะสามารถออกอาวุธได้คล่องแคล่ว คาดว่าจะส่งผลดีต่อธุรกิจค่ายมวย และธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่เกี่ยวข้อง อาทิ กางเกงมวยไทย เสื้อกล้าม นวม ผ้าพันมือ เป้าหมัด เป้าแตะ กระสอบทราย และน้ำมันมวย
จากกระแสการท่องเที่ยวเชิงกีฬาที่มีแนวโน้มเติบโตดีดังกล่าว นับเป็นโอกาสของประเทศไทยในการต่อยอดสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงกีฬา จากปัจจุบันที่ไทยมีชื่อเสียงในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อน ซึ่งจะทำให้กลุ่มนักท่องเที่ยวของไทยขยายวงกว้างขึ้น ที่ผ่านมาประเทศไทยประสบความสำเร็จในการสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในระดับหนึ่ง เห็นได้จากการจัดการแข่งขันวิ่งมาราธอนหลายรายการที่ได้รับความสนใจอย่างมาก หรืออย่างจังหวัดบุรีรัมย์ที่สามารถดึงดูดผู้ชมกีฬาให้เข้ามาท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้ แม้การท่องเที่ยวดังกล่าวจะกระตุ้นธุรกิจที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ที่จัดการแข่งขัน อาทิ โรงแรม ร้านอาหาร รถบริการ ร้านค้า ร้านจำหน่ายของที่ระลึก แต่ผู้ประกอบการก็ไม่ควรละเลยการปรับตัวให้สอดคล้องกับกระแสการดูแลสุขภาพ เพื่อรองรับโอกาส
ทางธุรกิจที่จะเกิดขึ้นด้วยเช่นกัน อาทิ การเพิ่มอุปกรณ์ออกกำลังกายหรือบริการด้านการดูแลสุขภาพในที่พัก เนื่องจากพบว่าปัจจัยหนึ่งที่นักท่องเที่ยวพิจารณาในการเลือกที่พักในปัจจุบัน คือ มีห้องออกกำลังกาย มีอุปกรณ์ออกกำลังกายที่มีคุณภาพ และมีบริการสปา สำหรับบางโรงแรมนอกจากมีอุปกรณ์ออกกำลังกายและสปาแล้วยังเพิ่มความพิเศษเพื่อสร้างความประทับใจให้แก่นักท่องเที่ยวผู้รักสุขภาพด้วย อาทิ บางโรงแรมมีการจัดโปรแกรมดูแลสุขภาพสำหรับนักท่องเที่ยว “Sleep with Six Senses” เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ โดยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ การนอนหลับ รวมถึงระบบหัวใจและหลอดเลือดให้การตรวจวินิจฉัยและให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล พร้อมอุปกรณ์ติดตั้งแอพพลิเคชั่นวัดระดับการนอนหลับของผู้เข้าพัก การสร้างความรู้สึกพิเศษให้กับผู้เข้าร่วมชมกีฬา อาทิ โรงแรมหนึ่งในไทยมีที่พักติดสนามแข่งรถช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต ที่ทุกห้องพักสามารถเปิดระเบียงมาชมการแข่งขันได้อย่างใกล้ชิด เป็นต้น
"จ.บุรีรัมย์" ต้นแบบการพัฒนาสู่เมืองท่องเที่ยวเชิงกีฬา
จ.บุรีรัมย์ ถือเป็นเมืองต้นแบบการพัฒนาเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงกีฬา หลังสโมสรบุรีรัมย์ยูไนเต็ดประสบความสำเร็จคว้าแชมป์ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกถึง 6 สมัย ได้ปลุกกระแสความนิยมกีฬาฟุตบอลในพื้นที่เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันการสร้างสนามฟุตบอล I–Mobile Stadium ที่สามารถจุผู้เข้าชมได้ถึง 34,000 คน และในแต่ละปีมีการแข่งขันฟุตบอลราว 33 นัด ทำให้มีแฟนบอลเดินทางมาชมการแข่งขันเป็นจำนวนมาก เป็นปัจจัยกระตุ้นให้การท่องเที่ยวใน จ.บุรีรัมย์ ขยายตัว สังเกตได้จากยอดนักท่องเที่ยวเดินทางมา จ.บุรีรัมย์ เพิ่มขึ้นเป็น 1.4 ล้านคนในปี 2558 หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 10% ต่อปีในช่วงปี 2555-2558 และล่าสุดการสร้างสนามแข่งรถบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต (Buriram United International Circuit : BUIC) ที่ได้มาตรฐานสหพันธ์รถยนต์นานาชาติ (Federation Internationale de l'Automobile : FIA) และผ่านมาตรฐานสหพันธ์จักรยานยนต์นานาชาติ (Federation Internationale de Motocyclisme) ทำให้ จ.บุรีรัมย์ สามารถจัดการแข่งขันรถยนต์และรถจักรยานยนต์ระดับนานาชาติได้ คาดว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางมา จ.บุรีรัมย์ เพื่อเข้าชมการแข่งขันกีฬาระดับโลกที่จะจัดขึ้นในสนามดังกล่าวมากขึ้นและสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวให้เพิ่มขึ้นด้วย
ที่มา: ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เดือนสิงหาคม 2561
ล่าสุดบริษัทวิจัยการตลาด Technavio คาดว่าการท่องเที่ยวเชิงกีฬาจะมีมูลค่า 5.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2564 หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 32% ต่อปี (CAGR) ในช่วงปี 2559-2564
การท่องเที่ยวเชิงกีฬา แบ่งเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้
- การท่องเที่ยวเพื่อร่วมลงเล่นกีฬา เป็นการท่องเที่ยวรูปแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จากเดิมที่การเดินทางเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันกีฬากระจุกตัวอยู่เฉพาะในกลุ่มนักกีฬามืออาชีพของกีฬาบางประเภท อาทิ กอล์ฟ รถแข่ง เรือใบ เทนนิส และฟุตบอล แต่ในระยะหลังเมื่อความนิยมออกกำลังกายมีมากขึ้นเพื่อดูแลสุขภาพตนเอง อีกทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในหลายประเทศนิยมจัดอีเวนต์ที่ผนวกกิจกรรมกีฬาเข้ากับการท่องเที่ยวและเปิดโอกาสให้ทั้งนักกีฬามืออาชีพและนักกีฬามือสมัครเล่นจำนวนมากสามารถเข้าร่วมได้ ที่เห็นได้ชัดคือการวิ่งมาราธอนหรือปั่นจักรยาน ซึ่งอีเวนต์รูปแบบดังกล่าวทั้งที่เป็นงานใหญ่และงานเล็กจะมีจัดขึ้นตลอดทั้งปี และมีหลายอีเวนต์ที่ประสบความสำเร็จมากจนสถานที่ไม่สามารถรองรับผู้สนใจได้ทั้งหมด อาทิ งานโตเกียวมาราธอน 2018 ซึ่งใช้เส้นทางวิ่งผ่านสถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังของเมืองโตเกียว ที่ต้องมีการจับฉลากเพื่อเลือกผู้เข้าร่วมงานได้จริงราว 3 หมื่นคนจากผู้สนใจลงชื่อเข้าร่วมสมัครถึงกว่า 3 แสนคน สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวเพื่อร่วมลงเล่นกีฬามีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก
ประเทศไทยมีการจัดการแข่งขันที่ได้รับความสนใจทั้งจากชาวไทยและชาวต่างชาติหลายรายการ อาทิ เชียงใหม่มาราธอนซึ่งมีผู้เข้าร่วมกว่า 11,000 คน โดยมีนักกีฬาต่างชาติเข้าร่วมการแข่งขันจาก 53 ประเทศ และกรุงเทพมาราธอนซึ่งมีผู้เข้าร่วมแข่งขันกว่า 37,000 คน โดยมีนักกีฬาต่างชาติเข้าร่วมการแข่งขันประมาณ 3,000 คน จาก 60 ประเทศ ซึ่งมีส่วนช่วยโปรโมตเมืองที่ใช้เป็นสถานที่จัดการแข่งขันให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นด้วย
- การท่องเที่ยวเพื่อร่วมชมการแข่งขันกีฬา เป็นการท่องเที่ยวที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเข้าร่วมเชียร์นักกีฬาหรือชมการแข่งขันกีฬาในสถานที่ต่างๆ ที่จัดการแข่งขันขึ้นทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ อาทิ โอลิมปิกฤดูร้อน โอลิมปิกฤดูหนาว การแข่งขันรถยนต์ Formula One Grand Prix และฟุตบอลโลก ทั้งนี้ นอกจากการแข่งขันกีฬาซึ่งเป็นที่นิยมในปัจจุบัน เช่น บาสเกตบอล ฟุตบอลและเทนนิส ที่มีผู้เข้าร่วมชมเป็นประจำอยู่แล้ว ล่าสุดยังมีกีฬาใหม่ๆ ที่สามารถดึงดูดผู้เข้าร่วมชมกีฬาได้จำนวนมาก คือ การแข่งขันผ่านเกมคอมพิวเตอร์ หรือ E-Sports (Electronics Sports) โดยพบว่าจำนวนผู้ชมการแข่งขัน E-Sports ในสนาม Madison Square Garden (สนามกีฬาอเนกประสงค์ในสหรัฐฯ) มีจำนวนมากกว่าผู้เข้าชมการแข่งขันบาสเกตบอล NBA ซึ่งเป็นกีฬายอดนิยมของชาว
อเมริกันเลยทีเดียว ทั้งนี้ บริษัทวิจัยตลาดชื่อดังอย่าง PwC คาดว่าในช่วง 3-5 ปีข้างหน้า E-Sports จะเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมสูงสุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากกีฬาฟุตบอล ซึ่งกระแสดังกล่าวคาดว่าจะกระตุ้นให้จำนวนนักท่องเที่ยวเพื่อชมการแข่งขันกีฬาโดยรวมของโลกเพิ่มขึ้นสำหรับประเทศไทย จังหวัดบุรีรัมย์ถือเป็นต้นแบบของการพัฒนาเมืองท่องเที่ยวเชิงกีฬาที่สามารถดึงดูดผู้ชมทั้งชาวไทย
และชาวต่างชาติ เนื่องจากเป็นสถานที่จัดการแข่งขันทั้งการแข่งขันรถยนต์และรถจักรยานยนต์ระดับนานาชาติ และการแข่งขันฟุตบอลโดยล่าสุดประเทศไทยได้รับการรับรองจากดอร์นาร์ สปอร์ต เจ้าของลิขสิทธิ์การแข่งขันมอเตอร์ไซค์รายใหญ่ที่สุดของโลกให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน MotoGP โดยการแข่งขันครั้งแรกในไทยจะจัดขึ้นในช่วงวันที่ 5-7 ตุลาคม 2561 ณ สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนลเซอร์กิต จังหวัดบุรีรัมย์ โดยคาดว่าเฉพาะจากงาน MotoGP นี้จะทำให้มีนักท่องเที่ยวเข้าประเทศไทยเพิ่มขึ้นถึง 2 แสนคน
- การท่องเที่ยวในสถานที่ที่เป็นต้นกำเนิดของกีฬาหรือการเข้าค่ายฝึกกีฬากับนักกีฬาที่มีชื่อเสียง อาทิ กีฬามวยไทยที่มีชื่อเสียงระดับโลกและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในแต่ละท้องถิ่นอย่างมวยไชยา มวยโคราช ล้วนมีส่วนช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวที่สนใจเดินทางมาเข้าคอร์สฝึกมวยไทยกับค่ายมวยที่มีชื่อเสียง ทั้งนี้ การฝึกมวยไทยจะต้องใช้เวลาเรียนรู้และฝึกฝนสักระยะหนึ่งจึงจะสามารถออกอาวุธได้คล่องแคล่ว คาดว่าจะส่งผลดีต่อธุรกิจค่ายมวย และธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่เกี่ยวข้อง อาทิ กางเกงมวยไทย เสื้อกล้าม นวม ผ้าพันมือ เป้าหมัด เป้าแตะ กระสอบทราย และน้ำมันมวย
จากกระแสการท่องเที่ยวเชิงกีฬาที่มีแนวโน้มเติบโตดีดังกล่าว นับเป็นโอกาสของประเทศไทยในการต่อยอดสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงกีฬา จากปัจจุบันที่ไทยมีชื่อเสียงในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อน ซึ่งจะทำให้กลุ่มนักท่องเที่ยวของไทยขยายวงกว้างขึ้น ที่ผ่านมาประเทศไทยประสบความสำเร็จในการสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในระดับหนึ่ง เห็นได้จากการจัดการแข่งขันวิ่งมาราธอนหลายรายการที่ได้รับความสนใจอย่างมาก หรืออย่างจังหวัดบุรีรัมย์ที่สามารถดึงดูดผู้ชมกีฬาให้เข้ามาท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้ แม้การท่องเที่ยวดังกล่าวจะกระตุ้นธุรกิจที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ที่จัดการแข่งขัน อาทิ โรงแรม ร้านอาหาร รถบริการ ร้านค้า ร้านจำหน่ายของที่ระลึก แต่ผู้ประกอบการก็ไม่ควรละเลยการปรับตัวให้สอดคล้องกับกระแสการดูแลสุขภาพ เพื่อรองรับโอกาส
ทางธุรกิจที่จะเกิดขึ้นด้วยเช่นกัน อาทิ การเพิ่มอุปกรณ์ออกกำลังกายหรือบริการด้านการดูแลสุขภาพในที่พัก เนื่องจากพบว่าปัจจัยหนึ่งที่นักท่องเที่ยวพิจารณาในการเลือกที่พักในปัจจุบัน คือ มีห้องออกกำลังกาย มีอุปกรณ์ออกกำลังกายที่มีคุณภาพ และมีบริการสปา สำหรับบางโรงแรมนอกจากมีอุปกรณ์ออกกำลังกายและสปาแล้วยังเพิ่มความพิเศษเพื่อสร้างความประทับใจให้แก่นักท่องเที่ยวผู้รักสุขภาพด้วย อาทิ บางโรงแรมมีการจัดโปรแกรมดูแลสุขภาพสำหรับนักท่องเที่ยว “Sleep with Six Senses” เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ โดยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ การนอนหลับ รวมถึงระบบหัวใจและหลอดเลือดให้การตรวจวินิจฉัยและให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล พร้อมอุปกรณ์ติดตั้งแอพพลิเคชั่นวัดระดับการนอนหลับของผู้เข้าพัก การสร้างความรู้สึกพิเศษให้กับผู้เข้าร่วมชมกีฬา อาทิ โรงแรมหนึ่งในไทยมีที่พักติดสนามแข่งรถช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต ที่ทุกห้องพักสามารถเปิดระเบียงมาชมการแข่งขันได้อย่างใกล้ชิด เป็นต้น
"จ.บุรีรัมย์" ต้นแบบการพัฒนาสู่เมืองท่องเที่ยวเชิงกีฬา
จ.บุรีรัมย์ ถือเป็นเมืองต้นแบบการพัฒนาเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงกีฬา หลังสโมสรบุรีรัมย์ยูไนเต็ดประสบความสำเร็จคว้าแชมป์ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกถึง 6 สมัย ได้ปลุกกระแสความนิยมกีฬาฟุตบอลในพื้นที่เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันการสร้างสนามฟุตบอล I–Mobile Stadium ที่สามารถจุผู้เข้าชมได้ถึง 34,000 คน และในแต่ละปีมีการแข่งขันฟุตบอลราว 33 นัด ทำให้มีแฟนบอลเดินทางมาชมการแข่งขันเป็นจำนวนมาก เป็นปัจจัยกระตุ้นให้การท่องเที่ยวใน จ.บุรีรัมย์ ขยายตัว สังเกตได้จากยอดนักท่องเที่ยวเดินทางมา จ.บุรีรัมย์ เพิ่มขึ้นเป็น 1.4 ล้านคนในปี 2558 หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 10% ต่อปีในช่วงปี 2555-2558 และล่าสุดการสร้างสนามแข่งรถบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต (Buriram United International Circuit : BUIC) ที่ได้มาตรฐานสหพันธ์รถยนต์นานาชาติ (Federation Internationale de l'Automobile : FIA) และผ่านมาตรฐานสหพันธ์จักรยานยนต์นานาชาติ (Federation Internationale de Motocyclisme) ทำให้ จ.บุรีรัมย์ สามารถจัดการแข่งขันรถยนต์และรถจักรยานยนต์ระดับนานาชาติได้ คาดว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางมา จ.บุรีรัมย์ เพื่อเข้าชมการแข่งขันกีฬาระดับโลกที่จะจัดขึ้นในสนามดังกล่าวมากขึ้นและสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวให้เพิ่มขึ้นด้วย
ที่มา: ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เดือนสิงหาคม 2561
Sport Tourism เทรนด์การท่องเที่ยวใหม่มาแรง
Reviewed by Sassy Ja
on
12:24 AM
Rating:
No comments: